ทำบุญบ้าน



ทำบุญบ้าน เมื่อพระสงฆ์มาถึง เจ้าภาพพึงปฏิบัติ ดังนี้

๑. ประเคนเครื่องรับรองพระสงฆ์ เช่น น้ำร้อน น้ำเย็น ฯลฯ

๒. เมื่อพร้อม จุดธูปเทียนที่โต๊ะหมู่บูชา

๓. อาราธนาศีล และรับศีล

ทำบุญบ้าน
ทำบุญบ้าน

๔. อาราธนาพระปริตร (บทว่า วิปัตติปะฏิพาหายะ ฯลฯ)

๕. นั่งฟังพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์

๖. เมื่อพระสงฆ์เริ่มสวดถึงบทว่า อะเสวะนา จะ พาลานัง ฯลฯ ให้จุดเทียนน้ำมนต์ และประเคนขันน้ำมนต์แด่ประธานสงฆ์

๗. กรณีตั้งโต๊ะพระฉันแยกออกจากอาสน์สงฆ์ เมื่อพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ถึงบทพาหุง ฯลฯ ให้ลำเลียงข้าวพระพุทธไปวางด้านหน้าโต๊ะหมู่บูชา และภัตตาหารคาวหวานไปวางบนโต๊ะอาหาร การกล่าวคำถวายทานในกรณีนี้ สามารถทำได้ ๒ วิธี คือ

๗.๑ ถ้าโต๊ะอาหารอยู่ไกล (แต่ยังมองเห็น) ใช้คำว่า เอตานิ มะยัง ภันเต…

๗.๒ ถ้าไม่ปฏิบัติตามข้อ ๗.๑ ก็นิยมนำภัตตาหารคาวหวานอย่างน้อยอย่างละ ๑ ชุดมาตั้งที่โต๊ะหน้าพระสงฆ์ แล้วกล่าวคำถวายทานตามปกติ

๘. กรณีตั้งภัตตาหารคาวหวานให้พระฉันบนอาสน์สงฆ์ เมื่อพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์จบแล้ว ให้ลำเลียงข้าวพระพุทธไปวางด้านหน้าโต๊ะหมู่บูชา และภัตตาหารคาวหวานไปวางบนอาสน์สงฆ์ แล้วจึงกล่าวถวายทาน

๙. สำหรับเครื่องสังฆทาน (ที่เป็นอย่างอื่นนอกจากภัตตาหาร) ถ้าเจ้าภาพจัดเตรียมถวายในโอกาสนี้ด้วย ให้นำไปวางรวมกับเครื่องไทยธรรม และดอกไม้ธูปเทียน และไม่จำเป็นต้องนำไปตั้งบนโต๊ะอาหารเพื่อทำพิธีถวายเหมือนภัตตาหารคาวหวาน (การปฏิบัติในข้อนี้ควรจะได้เรียนปรึกษากับประธานสงฆ์อีกครั้ง)

๑๐. การกล่าวคำบูชาข้าวพระพุทธที่นำมาตั้งในพิธีนั้น ไม่ต้องจุดธูปเทียนซ้ำอีก หลังจากกล่าวคำบูชาข้าวพระพุทธแล้ว ให้กล่าวคำถวายทานต่อเนื่องเลย

๑๑. ประเคนภัตตาหารแด่พระสงฆ์ และเมื่อพระสงฆ์ฉันเสร็จแล้วนำเครื่องสังฆทาน เครื่องไทยธรรม และดอกไม้ธูปเทียนเข้าไปประเคน

๑๔. ประธานสงฆ์อนุโมทนา เจ้าภาพกรวดน้ำ – รับพร

๑๕. ประธานสงฆ์ ประพรมน้ำพระพุทธมนต์

๑๖. เจ้าภาพกราบพระรัตนตรัยอีกครั้ง เป็นอันเสร็จพิธี

ที่มา : navy

Leave a Reply