ทำบุญเลี้ยงพระ – พิธีทำบุญเลี้ยงพระ
การทำบุญเลี้ยงพระ เป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่งของชาวพุทธ ในการทำบุญนั้นมักนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ในตอนเย็น ซึ่งเรียกกันว่า สวดมนต์เย็น พอรุ่งขึ้นก็มีการถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ ถ้าเป็นเวลาเช้าก็เรียกว่า เลี้ยงพระเช้า ถ้าเป็นเวลาเพลก็เรียกว่า เลี้ยงพระเพล ซึ่งชาวพุทธนิยมทำบุญเลี้ยงพระกันในงามมงคล เช่น งานขึ้นบ้านใหม่ งานวันครบรอบวันเกิด งานวันมงคลสมรส และงานอวมงคล เช่น ทำบุญในงานพิธีศพ หรือพิธีเกี่ยวกับการตาย เป็นต้น
ในการทำบุญเลี้ยงพระผู้ที่เป็นเจ้าภาพ หรือผู้จัดงานพึงปฏิบัติดังต่อไปนี้
1. อาราธนาพระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์
2. เตรียมสถานที่และอุปกรณ์ ตั้งพระพุทธรูปพร้อมเครื่องบูชา ตกแต่งสถานที่บริเวณพิธี ปูลาดอาสนะสำหรับพระสงฆ์ (บางแห่งจะมีการวางด้ายสายสิญจน์)
3. เตรียมเครื่องรับรองพระสงฆ์ตามความเหมาะสม เช่น น้ำดื่ม หรืออื่น ๆ เช่น เจ้าภาพบางคนต้องการให้พระสงฆ์ทำน้ำมนต์ ก็จะต้องตั้งภาชนะสำหรับทำน้ำมนต์
4. เมื่อพระสงฆ์มาพร้อมแล้ว เจ้าภาพนิมนต์พระสงฆ์นั่งยังอาสนะที่จัดไว้ และประเคนเครื่องดื่มรับรอง
5. เมื่อได้เวลาแล้ว เจ้าภาพจุดธูปเทียนที่โต๊ะบูชา กราบเบญจางคประดิษฐ์ 3 ครั้ง
6. อาราธนาศีลและรับศีล
7. อาราธนาพระปริตร ฟังพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์
8. ถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ แล้วกรวดน้ำแผ่ส่วนกุศลแก่สรรพสัตว์
9. รับพรจากพระสงฆ์ที่สวดอนุโมทนา (ถ้ามีการทำน้ำมนต์ ก็จะรับการประพรมน้ำพระพุทธมนต์)
10 เป็นอันเสร็จพิธี
สำหรับพิธีทำบุญเลี้ยงพระในงานอวมงคล เช่น ทำบุญหน้าศพ หรือทะบุญอัฐิ จะมีขั้นตอนส่วนใหญ่เหมือนกับงานทำบุญมงคล แต่มีข้อแตดต่างกันบางประการ ดังนี้
1. การอาราธนาพระสงฆ์ใช้คำว่า “ขออาราธนาศีลสวดพระพุทธมนต์”
2. ไม่ต้องตังภาชนะสำหรับทำน้ำมนต์และไม่ต้องวงสายสิญจน์
3. เตรียมสายสิญจน์ หรือภูษาโยงต่อจากศพ เพื่อใช้บังสุกุล
ที่มา : baanjomyut